แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สีมีอยู่ 2 ชนิด คือ
แม่สีของแสง มี 3 สี คือสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปแบบแสงรังสี
แม่สีวัตถุธาตุ มี 3 สี คือสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในงานศิลปะ
วงจรสี
สีขั้นที่1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
สีขั้นที่2 คือ สีที่เกิดจากสีขึ้นที่1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สีส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว
สีขั้นที่3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่1 ผสมกับสีขั้นที่2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่นๆ อีก6 สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง
สีแดงผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้มีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
หลักการใช้สี
การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดูเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้

1.การใช้สีวรรณะเดียว ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ
วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพลต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา
ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก

2.การใช้สีต่างวรรณะ
หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
3.การใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
สีตรงข้ามมี 6 คู่ได้แก่
สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน
การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ
ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย
รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน
ในผลงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง
ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว
ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิดจุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคนสีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
4. สีช่วยให้เกิดการรรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงานหรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ
1.แม่สี
ในวิถีชีวิตของเรา
ทุกคนรู้จัก เคยเห็น เคยใช้สี และสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดเป็น สีแดง
สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีขาว และสีอื่น ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก
และเรียกชื่อสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมีพวกเรากี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง
เพราะ เรายังขาดสื่อการเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นเอง ปัจจุบันนี้
เรายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของเราอยู่
ถ้าเรารู้จักหลักการเบื้องต้นของสี จะทำให้เราสามารถเขียน ระบาย หรือ
เลือกประยุกต์ใช้สี เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น
นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี
ตามหลักการของนักวิชาการสาขานั้นๆ ดังนี้
1.1 แม่สีของนักฟิสิกส์ (แม่สีของแสง) (Spectrum primaries) คือสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มีแม่สี 3 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเขียว (Green)
3. สีนํ้าเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สีของแสงมาผสมกันจะเกิดเป็นสีต่างๆ ดังนี้
1. สีม่วงแดง (Magenta) เกิดจากสีแดง (Red) ผสมกับสีนํ้าเงิน (Blue)
2. สีฟ้า (Cyan) เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสีนํ้าเงิน (Blue)
3. สีเหลือง (Yellow) เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสี แดง (Red)และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสม กัน จะได้สีขาว
1.2
แม่สีของนักจิตวิทยา (Psychology primaries)
คือสีที่มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ ในด้านจิตใจ ซึ่งจะกล่าวในเรื่อง
"ความรู้สึกของสี" นักจิตวิทยาแบ่งแม่สี เป็น 4 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเหลือง (Yellow)
3. สีเขียว (Green)
4. สีนํ้าเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สี 2 สีที่อยู่ใกล้กันในวงจรสี มาผสมกันจะเกิดเป็นสีอีก 4 สี ดังนี้
1. สีส้ม (Orange) เกิดจากสี แดง (Red) ผสมกับสี เหลือง (Yellow)
2. สีเขียวเหลือง (yellow-green) เกิดจากสี เหลือง (Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
3. สีเขียวนํ้าเงิน (Blue green) เกิดจากสี เขียว (Green) ผสมกับสีนํ้าเงิน (Blue)
4. สีม่วง (Purple) เกิดจากสี แดง (Red) ผสมกับสีนํ้าเงิน (Blue)
จิตวิทยาในการใช้สี
สีต่างๆ
ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา
ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย
เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใชสี้ได้อย่างเหมาะสม
และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก
ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สีแดง
ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ
มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย
สีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
สีเขียว
ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน
การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา
สีนํ้าเงิน
ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด
รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีคราม จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ
สีม่วง
ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่
ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีนํ้าตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
สีไพล จะทำให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนุ่มสาว
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความรํ่ารวย การแผ่กระจาย
จากความรู้สึกดังกล่าว
เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง
และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี
เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย
และจะช่วยลดปัญหาในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น
1.
ใช้ในการแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ
จะแสดงให้รู้ว่า เป็นภาพตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น
2. ในด้านการค้า คือ ทำให้สินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆ ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
3.
ในด้านประสิทธิภาพของการทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม
ถ้าทาสีสถานที่ทำงานให้ถูกหลักจิตวิทยา
จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น
มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
4. ในด้านการตกแต่ง สีของห้อง
และสีของเฟอร์นิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่างของห้อง
รวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น
ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้น
สีกับการออกแบบ
ผู้สร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง
มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่ง
คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง
จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับ ความคิด และจินตนาการของตน
สีที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้น
ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา
มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ
การใช้สีตัดกัน
3.1. การใช้สีกลมกลืนกัน
การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือนํ้าหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น
การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีๆ เดียวที่มีนํ้าหนักอ่อนแก่หลายลำดับ
การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 – 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง
การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี
ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ( Warm tone colors and cool tone colors)
3.2. การใช้สีตัดกัน
สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี
(ดูภาพวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมาก
ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น
สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีนํ้าเงิน
3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงนํ้าเงิน
5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ นํ้าเงินเขียว
6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว
การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
1. ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ
2. ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย
3. รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน
ในผลงานชิ้นหนึ่ง
อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ
และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว
ในงานออกแบบหากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน
หรือวรรณะเย็น เราจะสามารถควบคุม
และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น
เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง
สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้
สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด จุดเด่น
และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้
เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง
กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
1.
สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน
สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร
จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรือ
อันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
4.
สีช่วยให้เกิดการรับรู้ และจดจำ
งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงาน
หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ